ผู้ขับขี่รถยนต์หลายคนต้องการที่จะเปลี่ยนสีรถยนต์ให้เป็นสีที่ไม่ใช่สีเดิมที่มาจากโรงงาน แต่ไม่แน่ใจว่าเรื่องดังกล่าวจะถูกกฏหมายหรือไม่วันนี้ได้นำการกำหนดสีรถยนต์ของกรมกรมการขนส่งทางบกมาฝากทุก ๆ ท่าน
ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ในปัจจุบันเทคโนโลยีในเรื่องการทำสีรถยนต์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีความหลากหลาย และสามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อให้การกำหนดสีสำหรับการจดทะเบียน และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสีรถภายหลังจดทะเบียนมีความเหมาะสมมากขึ้น
สำหรับระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 อีกทั้งยังเป็นการยกเลิกการกําหนดสี และลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2549 และใช้หลักเกณฑ์การกำหนดสีดังต่อไปนี้
1. กรณีตัวรถมีสีเดียว ให้กำหนดเป็นสีหลัก โดยไม่ต้องมองถึงความเข้มของสีที่แตกต่างกัน เช่น
2.กรณีตัวรถมีหลายสี บนตัวถังส่วนที่สำคัญ ๆ ของรถมีสีที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ฝากระโปรงหน้า – ท้าย หลังคา หรือประตู เป็นต้น ให้กำหนดสีหลักไม่เกิน 3 สี ดังต่อไปนี้
2.1 ตัวถังรถมี 2 สี ให้กำหนดดังด้านล่างนี้
2.2 ตัวถังรถมี 3 สี ให้กำหนดดังด้านล่างนี้
2.3 ตัวถังรถมีมากกว่า 3 สี ให้กำหนดสีหลัก 2 สี และสีสุดท้ายเป็น “หลายสี”
2.4 หากตัวถังรถไม่สามารถกำหนดสีหลักได้ ให้กำหนดเป็น “หลายสี” เพียงอย่างเดียว
3. ส่วนสีคาด หรือแถบที่ใช้แต่งรถ โดยไม่ทำให้สีตัวรถเปลี่ยนแปลง “ไม่กำหนดเป็นสีรถ” (หากสีตัวรถเปลี่ยนให้กำหนดสีรถตามหลักเกณฑ์ข้างต้น)
4.การเปลี่ยนสีรถไม่ว่าจะเป็นการ ติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือคาร์บอนเคฟล่า “ให้กำหนดเป็นสีรถตามหลักเกณฑ์ข้างต้น”
5.การติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อการโฆษณา หรือแต่งรถ ที่เป็นรูปภาพ ข้อความ ตัวอักษร และลวดลายต่าง ๆ บนตัวถังของรถในภายหลัง “ไม่ต้องกําหนดเป็นสีรถ”
เครดิต : Ratchakitcha
เพื่อน ๆ สามารถติดตามข่าวสารการเปิดตัวรถยนต์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงสาระดี ๆ เกี่ยวกับการดูแลและขับขี่รถอย่างปลอดภัย การจัดแสดงรถยนต์อื่น ๆ ได้ที่ Thaicarlover ครับ