หลายคนคงจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่มีเพื่อนหรือญาติยืมรถไปขับผ่านไปไม่กี่วันมีใบสั่งส่งมาที่บ้าน เมื่อเจอแบบนี้ตกลงใครจะต้องเป็นคนจ่ายค่าปรับต้องดู
คนอื่นยืมรถไปขับแล้วโดนใบสั่งส่งมาที่บ้าน แบบนี้ใครจ่าย
ใบสั่งที่เรามักไม่อยากเจอแต่กับต้องพบในตู้ไปรษณีย์หน้าบ้านแบบนี้เป็นใครก็ต้องกุมขยับกันใช่ไหมละครับ ทั้งทีบางคนอาจไม่ได้กระทำผิดหรือขับรถในช่วงนั้น แต่เป็นเพราะคนอื่นยืมรถไปใช้หรือแม้กระทั่งเอารถเข้าซ่อมแล้วมีการทดสอบรถบนถนนแล้วได้ทำผิดกฏจราจรโดยที่มีกล้องจับภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีขับรถเร็วเกินกฏหมายกำหนด, ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย, เปลี่ยนเลนในที่ห้ามเปลี่ยน หรือแซงในที่คับขันเป็นต้น
แล้วเมื่อเราได้ใบสั่งละใครจะจ่ายและจำเป็นต้องจ่ายไหมเมื่อไม่ได้ทำผิดเอง
ต้องบอกก่อนเลยว่าในเมื่อรถมีชื่อเราเป็นเจ้าของ ใบสั่งก็จะส่งมาตามที่อยู๋ของผู้เป็นเจ้าของ ดังนั้นคนที่ต้องจัดการเรื่องนี้ก็คงหนีไม่พ้นเจ้าของรถนั่นแหละครับ ทั้งนี้ไม่ว่าจะกรณีใด ๆ เจ้าของรถก็ต้องเป้นู้รับผิดทั้งนั้น และการจ่ายค่าปรับหลังจากได้ใบสั่งมาแล้วจำเป็นตต้องจ่ายไหม หลายคนอาจจะไม่จ่ายเพราะเคยไม่จ่ายมาก่อนแล้วไม่เห็นเป็นอะไรเลย ไม่ว่าจะต่อทะเบียน ทำพรบ. หรือตรวจสภาพรถก็ยังทำได้เหมือนเดิม ซึ่งในปัจจุบันทางกรมตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหาทางร่วมมือกันจัดการกับผู้ที่ไม่จ่ายค่าปรับเหล่านี้ และหากทำได้จริงคนที่ดองเอาไว้หลายใบรับรองมีจุก อย่างไรก็ดีหากเป็นการเข้าใจที่ถูกการจ่ายค่าปรับก็เป็นการช่วยพัฒนาประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
เพื่อน ๆ สามารถติดตามข่าวสารการเปิดตัวรถยนต์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงสาระดี ๆ เกี่ยวกับการดูแลและขับขี่รถอย่างปลอดภัย การจัดแสดงรถยนต์อื่น ๆ ได้ที่ Thaicarlover.com ครับ