ฉลากเขียว คือฉลากที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบ กับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
ฉลากเขียวเริ่มใช้เป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมันตั้งแต่ปีพ.ศ.2520 และได้รับการตอบสนองจากผู้บริโภคชาวเยอรมันเป็นอย่างดี ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มากกว่า 20 ประเทศ ได้มีการจัดทำโครงการฉลากเขียว เช่น แคนนาดา สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย ฯลฯ ซึ่งรถยนต์ของฮอนด้าได้รับการรับรองฉลากเขียว ถึง 23 รุ่น
ซึ่งรถยนต์ของฮอนด้าได้รับการรับรองฉลากเขียว ทั้ง 23 รุ่น มีดังนี้
- บริโอ้ 1.2 ลิตร (เกียร์ธรรมดา)
- บริโอ้ 1.2 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
- บริโอ้ อเมซ 1.2 ลิตร (เกียร์ธรรมดา)
- บริโอ้ อเมซ 1.2 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
- ซิตี้ 1.5 ลิตร (เกียร์ธรรมดา)
- ซิตี้ 1.5 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
- ซิตี้ ซีเอ็นจี (เกียร์ธรรมดา)
- ซิตี้ ซีเอ็นจี (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
- แจ๊ซ 1.5 ลิตร (เกียร์ธรรมดา)
- แจ๊ซ 1.5 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
- โมบิลิโอ้ 1.5 ลิตร (เกียร์ธรรมดา)
- โมบิลิโอ้ 1.5 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
- ซีวิค 1.8 ลิตร (เกียร์ธรรมดา)
- ซีวิค 1.8 ลิตร (เกียร์อัตโนมัติ)
- ซีวิค 2.0 ลิตร (เกียร์อัตโนมัติ)
- ซีวิค ไฮบริด 1.5 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
- เอชอาร์วี 1.8 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
- ซีอาร์วี 2.0 ลิตร (เกียร์อัตโนมัติ)
- ซีอาร์วี 2.4 ลิตร (เกียร์อัตโนมัติ)
- ซีอาร์วี 2.4 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
- แอคคอร์ด 2.0 ลิตร (เกียร์อัตโนมัติ)
- แอคคอร์ด 2.4 ลิตร (เกียร์อัตโนมัติ)
- แอคคอร์ด ไฮบริด 2.0 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตรากดอย่างต่อเนื่อง)
การพิจารณาเกณฑ์ข้อกำหนดในฉลากเขียวในแต่ละผลิตภัณฑ์ จะใช้หลักการทางสิ่งแวดล้อมเป็นแนวทาง ดังนี้
- การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
- การลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่ง การบริโภค และการกำจัดทิ้งหลังใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ
- การนำขยะมูลฝอยทั่วไปและขยะอันตรายกลับมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น (reuse) หรือ หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
ข้อกำหนดฉลากเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์รถยนต์ ประกอบด้วยข้อกำหนดทั่วไป ซึ่งต้องได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเฉพาะด้านความปลอดภัย สารมลพิษจากเครื่องยนต์ที่ประกาศบังคับใช้และเป็นไปตามข้อกำหนดใน พรบ.รถยนต์ รวมทั้งต้องได้รับการรับรอง ISO 9001 และ ISO 14000
สำหรับข้อกำหนดพิเศษจะต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็น สารเคมีและวัสดุที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ สารทำความเย็น ผ้าเบรค แผ่นคลัตช์ คำแนะนำในการบำรุงรักษารถยนต์ และวิธีการจัดการของเสีย ชิ้นส่วนพลาสติกและชิ้นส่วนประเภทยาง ที่สามารถกลับมาใช้ใหม่ ระดับเสียงที่เกิดจากรถยนต์ การปล่อยไอเสียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับการรับรองฉลากเขียวจึงต้องผ่านการประเมินผลกระทบแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิต การใช้งาน การทิ้งทำลาย ตลอดจนมีการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมอีกด้วย เรียกว่าไม่ได้ง่ายเลยสำหรับการได้รับการรับรองฉลากเขียว แต่ว่าไม่ใช่เพียงแค่ใช้ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวอย่างเดียวที่จะทำให้โลกเราน่าอยู่ขึ้น หากแต่ต้องเกิดขึ้นกับตัวผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นด้วยทั้งการดูแลรักษา การใช้งานต่าง ๆ เราควรจะต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรของโลกอย่างมีคุณค่าครับ
อ่านข่าวสารของผลิตภัณฑ์รถยนต์ของฮอนด้าได้อีก ที่นี่
- กระบะไฮบริด! Honda Ridgeline 2016
- เผยโฉม Honda Concept D เอสยูวีแห่งอนาคต!
- Honda S660 เปิดตัวปุ๊บ… ชุดแต่งมาปั๊บ
- เผยโฉม! Honda Civic เจเนอเรชั่นใหม่ที่นิวยอร์ค
เพื่อนๆ สามารถติดตามข่าวสารการเปิดตัวรถยนต์ และนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงสาระดีๆเกี่ยวกับการดูแลและขับขี่รถอย่างปลอดภัย การจัดแสดงรถยนต์อื่นๆ ได้ที่ Thaicarlover.com