ยกเลิกการแจ้งเตือน

คุณต้องการยกเลิกการแจ้งเตือนข่าวสารเมื่อมีการอัพเดตใช่หรือไม่?

Advertise with Us

ติดต่อเพื่อลงโฆษณากับเราที่นี่!

รถยนต์ ข่าวรถยนต์ รถใหม่ ราคารถยนต์ พริตตี้ รถคลาสสิค รถแต่ง
background

ช่วยได้จริงไหม ? ติดเครื่องกรองอากาศบนหลังคารถเมล์

19 ก.พ. 2563 N/A views

หลังจาก นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้เกิดไอเดียที่จะช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในเมืองหลวงโดยการติดเครื่องกรองอากาศเอาไว้หลังคารถเมล์ ขณะนี้ได้ดำเนินการทดลองกับรถประจำทางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่าใกล้เคียงกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้… คือกล่องสูง 25 cm. ติดเครื่องฟอกอากาศที่มีใส้กรอง เพื่อดักจับขณะที่รถวิ่งที่ความเร็ว 20 กม./ช.ม. พบว่าสามารถช่วยกรองอากาศได้ถึง 20,000 ลบ.ม./ช.ม.อ้างอิงจากการวัดค่าฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อนวิ่งได้ 48 – 51 ไมครอน แต่เมื่อผ่านเครื่องกรองบนหลังคารถแล้วจะเหลือเพียง 1 – 2 ไมครอนเท่านั้น

เครื่องฟอกอากาศรถเมล์

สำหรับราคาของต้นแบบกล่องฟอกอากาศ ทาง รมว.คมนาคม ได้แจ้งว่าจะอยู่ 2,000 บาท/กล่อง บวกไส้กรอง 2 ลูก 1,000 บาท ซึ่งสามารถใช้ได้ราวๆ 2 สัปดาห์ รวมต่อชุด 3,000 บาท แต่ในอนาคตเมื่อผลวิจัยสามารถชี้ชัดได้ว่าสามารถแก้ปัญหาได้จริง อาจจะมีการทำกล่องฟอกอากาศนี้ด้วยวัสดุที่ทนทานขึ้นอย่างเช่นไฟเบอร์กลาส จึงจะสามารถประเมินราคาที่แน่นอนได้ โดยทาง รมว.คมนาคม ชี้แจงว่าเงินที่จะเอามาทำกล่องฟอกอากาศในอนาคตจะมาจากการ ประมูลแผ่นป้ายทะเบียนเลขพิเศษ และงบจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งงบนี้มีเงินทุน 2 – 3 พันล้านบาท

เครื่องฟอกอากาศรถเมล์2

เครื่องกรองอากาศบนรถเมล์ช่วยได้จริง หรือลวงโลก ?

แต่ความเห็นอีกด้านของนักวิชาการอย่าง รศ.ดร.เจษฏา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวว่า… “ติดกล่องกรองอากาศบนหลังคารถเมล์มันก็เรื่องลวงโลก แบบเดียวกับเครื่อง GT200 แหละ…

หวังว่านี่ก็ปี 2020 แล้ว ประชาชนคงไม่โดนหลอกกันง่ายๆ อีกนะ” ซึ่งมันก็หมายความว่า  เครื่องฟอกอากาศที่ติดตั้งไว้บนรถประจำทางนี้ ไม่สามารถกรองอากาศได้จริงตามที่ รมว.คมนาคม ได้วิจัยกับรถทดสอบนะสิ!

นอกจากนี้ อีกบุคคลที่มีความเห็นตรงข้ามอีกด้านคือ คุณมติพล จากสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ลองคำนวนคร่าวดูว่าสามารถกรองได้มากน้อยขนาดไหน คำตอบก็คือ “ได้แค่จุดพิกเซลเดียว” ครับ (ที่มีพื้นที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร และคิดความสูงของฝุ่นง่ายๆ ที่ 1 กม. เราจะได้ว่ามีอากาศที่ต้องบำบัดทั้งสิ้น 1.568E+12 ลบ.ม. แทนด้วยพื้นที่ของภาพนี้ทั้งหมด 1,567×1045 พิกเซล หรือเทียบเท่าหนึ่งพิกเซลแทนด้วยอากาศปริมาตรหนึ่งล้านลบ.ม.)

เครื่องกรองอากาศรถเมล์

นอกจากนี้ในสื่อโซเชียลยังทวงถาม ถึงต้นตอว่ารถเมล์ที่ยังคงวิ่งอยู่ตอนนี้นั้น ควรแก้ไข ปรับเปลี่ยนให้ลดการปล่อยควันดำ ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหา PM 2.5 ก่อนที่จะมาติดเจ้าเครื่องกรองอากาศบนรถเมล์

อ่านเพิ่มเติม : โลกออนไลน์ถาม “ควันดำขนาดนี้ยังเอามาวิ่งอีกเหรอ”

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับข้อมูลทั้ง 2 ฝ่าย ที่ออกมาแสดงผลวิจัย และความคิดเห็นในประสิทธิภาพของเจ้ากล่องฟอกอากาศนี้ ทางเราหวังว่าคงจะได้ข้อสรุปอย่างจริงจังในการแก้ปัญหาฝุ่นพิษนี้ได้เร็วๆ สักที เพราะปัญหามันกระทบต่อสุขภาพคนในเมืองโดยตรง อีกทั้งห่วงเรื่องงบประมาณที่จะต้องใช้จ่าย ซึ่งถ้าทำเจ้ากล่องนี้อย่างจริงจังแล้วไม่ได้ผล คงจะเสียงบประมาณส่วนนี้เยอะอยู่พอสมควรเลยครับ

ที่มา : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์, มติพล ตั้งมติธรรม, เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง