5 เมษายน 2560 เป็นวันแรกของการบังคับใช้กฏหมายตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งกำหนดให้ผู้ขับขี่ และผู้โดยสารทุกคนต้องรัดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน อีกทั้งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มอบแนวปฏิบัติโดยให้ตำรวจทั่วประเทศบังคับใช้กฏหมายอย่างเด็ดขาด หากพบเห็นจะถูกปรับ 500 บาท
อีกหนึ่งประเด็นที่กลายเป็นเรื่องถกเถียงของสังคมอยู่ในเวลานี้คือ เรื่องห้าม “รถกระบะ” บรรทุกคนภายในแค็บ (กระบะมีแค็บ) และท้ายบระบะ ว่าด้วยพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งขึ้นอยู่กับการจดทะเบียนของรถกระบะคันนั้นเป็นรถยนต์ประเภทไหน ถ้าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเจอจะถูกปรับทันที
สาเหตุเนื่องมากจากรถกระบะคันนั้นจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคุลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ซึ่งมีป้ายทะเบียนกำกับประเภทรถ คือมีป้ายสีขาว ตัวอักษรสีเขียว นอกจากนี้การสร้างแค็บมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรทุกสิ่งของเท่านั้น หากใครฝ่าฝืนมีโทษปรับในข้อหาใช้รถยนต์ผิดประเภท และปรับไม่เกิน 2,000 บาท
คำถามที่ตามมาก็คือ พรบ. ดังกล่าวมีอายุเกือบ 40 ปี แต่ทำไมที่ผ่านมาไม่มีการบังคับใช้กฏหมายดังกล่าวอย่างจริงจัง และการบังคับใช้กฏหมายดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาอุบัติได้จริงหรือไม่ นอกจากนี้ประชาชนผู้ใช้รถกระบะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้รับผลกระทบจากกฏหมายนี้อย่างไร
เพื่อน ๆ สามารถติดตามข่าวสารการเปิดตัวรถยนต์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงสาระดี ๆ เกี่ยวกับการดูแลและขับขี่รถอย่างปลอดภัย การจัดแสดงรถยนต์อื่น ๆ ได้ที่ Thaicarlover.com ครับ