เมื่อสำนักงานปราบปรามการทุจริต (SFO) ของอังกฤษได้ออกรายงานข้อเท็จจริง จำนวน 40 หน้า ในกรณี บริษัท โรลส์-รอยซ์ (คนละส่วนกับรถยนต์) จ่ายสินบนในการซื้อขายเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินของบริษัท ฯ ในหลายประเทศได้แก่ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย ไนจีเรีย รัสเซีย มาเลเซีย
รวมถึงประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี 2534-2548 มีมูลค่ารวมในไทยเกือบ 1,300 ล้านบาท ซึ่งมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกว่า 30 ล้านหน้า ใช้เวลาการสืบสวนกว่า 5 ปี สุดท้าย บริษัท โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) ได้ยอมรับคำตัดสินโดยจ่ายค่าปรับราว 21,000 ล้าน เพื่อไม่ให้ถูกดำเนินคดี
“สินบน โรลส์-รอยซ์” เป็นข่าวใหญ่ระดับโลกในช่วงที่ผ่านมา และมันกลายเป็นประเด็นที่วิพากษ์ วิจารณ์ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรง “กลายเป็นคำถามของสังคมไทยว่าเงินสินบนระหว่างปี 2534-2548 จำนวนเกือบ 1,300 ล้านบาท ใครมีส่วนร่วม ใครได้ส่วนแบ่ง” และในเอกสารของ SFO ได้เผยว่าไทยซื้อเครื่องยนต์จากบริษัทฯ จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่
- วันที่ 1 มิถุนายน 2534 – 30 มิถุนายน 2535 (ราว 663 ล้านบาท)
- วันที่ 1 มีนาคม 2535 – 31 มีนาคม 2540 (ราว 663 ล้านบาท)
- วันที่ 1 เมษายน 2547 – 28 กุมภาพันธ์ 2548 (ราว 254 ล้านบาท)
คณะกรรมการต่อต้านการทุจริต (KPK) ของอินโดนีเซีย ได้ระบุผู้ต้องสงสัยการพัวพันคดีดังกล่าวแล้ว แต่ยังให้รายละเอียดไม่ได้ เพียงตอบสั้น ๆ ว่า “ใช่ มันเป็นความจริง” อากุส ราฮาร์โด ประธาน KPK กล่าวเมื่อ 19 มกราคม 2017
แต่ถึงอย่างไรทางการไทยมีเอกสารข้อมูลหลักฐาน และรายชื่อของผู้รับสินบนจากคดีดังกล่าวแล้ว แต่รอการยืนยันจากเอกสารจากประเทศอังกฤษก่อน และหวังว่าท่านที่ข้องเกี่ยวกับคดีนี้คงให้คำตอบแก่สังคมไทยถึงที่ไปของเงินสินบนเกือบ 1,300 ล้านบาท และนี้ถือว่าเป็นบทเรียนการปราบทุจริตราคาแพงสำหรับสังคมไทยอีกหนึ่งบท
เพื่อน ๆ สามารถติดตามข่าวสารการเปิดตัวรถยนต์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงสาระดี ๆ เกี่ยวกับการดูแลและขับขี่รถอย่างปลอดภัย การจัดแสดงรถยนต์อื่น ๆ ได้ที่ Thaicarlover.com ครับ