วอลโว่ได้ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการว่าจะผลิต Volvo XC40 ระบบไฮบริดในปลายปีนี้ ด้วยการนำเครื่องยนต์เบนซิน ระบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด ที่เรียกว่า T5 Twin Engine มาใช้งาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งในโครงการในการผลิตรถพลังงานไฟฟ้าของบริษัทที่ได้โฆษณาเพื่อเรียกน้ำย่อยมาหลายปีแล้ว
เมื่อปี 2016 บริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติสวีเดนได้นำระบบส่งกำลัง และคอนเซ็ปต์รถ Vovol XC40 (วอลโว่ เอ็กซ์ซี 40) ที่พัฒนาบนแพลตฟอร์มใหม่อย่าง Compact Modular Architecture (CMA) ออกมาแสดงโชว์ให้วงการยานยนต์ได้ชม
เครื่องยนต์ Volvo XC40 ระบบไฮบริด
ด้วยแนวคิดแบบเดิมนั้น Volvo ได้พัฒนาเครื่องยนต์ Twin Engine ที่ผสานมอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องยนต์เบนซิน เทอร์โบเข้ากับเทคโนโลยี Plug-in Hybrid บนรุ่นตัวถังขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ T8 Twin Engine ขนาด 2.0 ลิตร แต่เมื่อเครื่องยนต์ชนิดนี้มาอยู่ในเอสยูวีรุ่นเล็กอย่าง Volvo XC40 ตัวเลขสเปคของเครื่องยนต์ T5 Twin Engine จึงลดลงมาด้วยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 55 กิโลวัตต์ (75 แรงม้า) เชื่อมต่อเข้ากับเกียร์ DCT 7 สปีด ผสมผสานเข้ากับเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.5 ลิตร 3 สูบ 180 แรงม้า พร้อมแบตเตอรี่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง
ช่วงระยะการขับขี่ Volvo XC40 ด้วยไฟฟ้าตามมาตรฐานจากโรงงานผลิตตามมาตรฐานการวัดค่าไอเสียและอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของยุโรป (New European Driving Cycle-NEDC) อยู่ที่ 50 กม. (31 ไมล์) แต่หากมองในโลกแห่งความเป็นจริงตัวเลขอาจจะลดลงอยู่ที่ราว ๆ 32 กม. (20ไมล์) เมื่อใช้เชื้อเพลิง และพลังงานไฟฟ้าร่วมกันมันจะให้ประสิทธิภาพเหมือนกับ Volvo XC40 เครื่องยนต์ธรรมดาแบบ 4 สูบ ที่ 250 แรงม้า
เครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบชนิดนี้จะถูกนำไปใช้กับรถ Vovol รุ่นอื่นอีกด้วย โดยบริษัทเริ่มทดสอบมาตั้งแต่ปี 2014 และมันถูกสร้างขึ้นบนไลน์ผลิตเดียวกันกับเครื่องยนต์ 4 สูบของบริษัท นอกจากนี้วอลโว่ยังกล่าวอีกว่าระบบส่งกำลัง T5 Twin Engine จะถูกนำไปใช้ในรถตระกูล 60 อีกด้วย
ขุมพลัง T5 Twin Engine มันแตกต่างกับขุมพลัง T8 Twin Engine ที่อยู่ในรุ่น XC60, XC90 และ S/V90 เป็นอย่างมาก โดยเครื่องยนต์ T8 ใช้เฉพาะพลังงานจากเชื้อเพลิงเบนซินในการขับเคลื่อนล้อหน้า ส่วนล้อหลังใช้พลังงานจากไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ส่วนเครื่องยนต์ T5 พลังงานทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ขับเคลื่อน เฉพาะล้อหน้าเพียงอย่างเดียว โดย Volvo โดยได้สร้างแผนภาพเพื่อให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน รวมถึงการใช้แพลตฟอร์ม Scalable Product Architecture (SPA) กับรถยนต์รุ่นที่มีตัวถังขนาดใหญ่ และแพลตฟอร์ม Compact Modular Architecture (CMA) จะใช้กับรุ่นเล็ก
เพื่อน ๆ สามารถติดตามข่าวสารการเปิดตัวรถยนต์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงสาระดี ๆ เกี่ยวกับการดูแลและขับขี่รถอย่างปลอดภัย การจัดแสดงรถยนต์อื่น ๆ ได้ที่ Thaicarlover.com ครับ