ยกเลิกการแจ้งเตือน

คุณต้องการยกเลิกการแจ้งเตือนข่าวสารเมื่อมีการอัพเดตใช่หรือไม่?

Advertise with Us

ติดต่อเพื่อลงโฆษณากับเราที่นี่!

รถยนต์ ข่าวรถยนต์ รถใหม่ ราคารถยนต์ พริตตี้ รถคลาสสิค รถแต่ง
background

กรมขนส่งทางบก ชี้ 4 โรคที่ไม่ควรขับรถ

5 ต.ค. 2557 N/A views

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ทางกรมขนส่งทางบก ได้มีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ การขอรับใบขับขี่ ก็เรียกว่าทำให้ชาวไทยตื่นตัวไปต่อแถวทำกันยกใหญ่ครับ ล่าสุดได้มีการกำหนด หลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพขึ้นมาใหม่อีกด้วย โดยสิ่งสำคัญคือการชี้แจง 4 โรคที่ไม่ควรขับรถ มีอะไรบ้างมาดูกันครับ

4 โรคที่ไม่ควรขับรถ

นายวัฒนา พัทรชนม์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ทางกรมขนส่งทางบกได้พิจารณาหลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพ เพื่อออกใบรับรองแพทย์ สำหรับผู้ขอรับใบใขับขี่ รวมไปถึงผู้ต่ออายุด้วย ว่าจะกำหนดกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเกิดอันตรายจากการขับรถไว้ 4 กลุ่มดังต่อไปนี้

ขึ้นอยู่กับแพทย์ด้วยว่าจะอณุญาติหรือไม่

ขึ้นอยู่กับแพทย์ด้วยว่าจะอณุญาติหรือไม่

4 โรคที่ไม่ควรขับรถ เริ่มจาก ผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ , ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางสมอง , ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน และผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือผ่านการผ่าตัดหัวใจ หรือขยาย เส้นเลือดหัวใจ ทั้งนี้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยแล้วครับว่า 4 โรคดังกล่าว มันเป็นอุปสรรคต่อการขับรถจริงๆ แต่ถ้าหากผู้ป่วยผ่านการตรวจแล้ว แพทย์ได้อณุญาติให้สามารถขับรถได้ ก็ไม่มีปัญหาครับ

เท้าช้าง 1 ในโรคที่อณุญาตให้ขับรถได้แล้ว

เท้าช้าง 1 ในโรคที่อณุญาตให้ขับรถได้แล้ว

ต่อกันด้วย 3 โรคที่ถูกตัดออกจากกฎข้อบังคับด้วยนะครับ

นอกจากจะมีการกำหนดให้เพิ่มเติม 4 โรคดังกล่าวแล้ว ทางคณะกรรมการฯ ก็ได้มีความเห็นให้ตัดโรคเท้าช้าง โรคเรื้อน และวัณโรค ออกจากการขอใบรับรองแพทย์เพื่อสอบใบขับขี่ด้วยครับ เนื่องจากโรคดังกล่าวสามารถตรวจวินิจฉัยได้จากการมองเห็น และปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์ในการตรวจรักษาดีขึ้นมาก ทำให้ 3 โรคดังกล่าวไม่ใช่อุปสรรคในการขับรถอีกต่อไป

สติฟั่นเฟือนจะมีการแบ่งออกเป็นระดับ

สติฟั่นเฟือนจะมีการแบ่งออกเป็นระดับ

อีกหลายโรคที่อยู่ในช่วงหารือ

ส่วนในกรณีของผู้ป่วยด้วยวิกลจริต จิตฟั่นเฟือน  การติดยาเสพติดให้โทษ  และอาการของโรคพิษสุราเรื้อรังนั้น ยังให้คงไว้ ในใบรับรองแพทย์ก่อน แต่ว่าในกรณีผู้ป่วยด้วยวิกลจริตจิตฟั่นเฟือนในระดับอาการต่างๆ  รวมทั้งกรณีผู้ขับรถสูงอายุ และโรคติดต่อร้ายแรง ที่มีผลกระทบ ต่อการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ทางกรมขนส่งทางบกและแพทยสภา กำลังหาข้อสรุป เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในใบรับรองแพทย์อยู่ครับ

ส่วนผู้ติดสุราเรื้อรัง ยาเสพติดให้โทษ คาดว่าเหมือนเดิมแน่ๆ

ส่วนผู้ติดสุราเรื้อรัง ยาเสพติดให้โทษ คาดว่าเหมือนเดิมแน่ๆ

ทั้งนี้กรมขนส่งทางบกยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยครับว่า หากผู้ป่วยให้ข้อมูลเท็จ ในการขอใบรับรองแพทย์ จะถือเป็นความผิด มีบทลงโทษตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด งงกันไหมครับเพื่อนๆ ผมเขียนยังงงเลยครับ เอาเป็นว่าง่ายๆเลยนะครับ เค้ากำหนดไว้ชัดเจนแล้ว 4 โรค ที่ไม่สามารถขับรถได้ มีการยกเลิก 3 โรค ให้ขับรถได้แล้ว สุดท้ายก็มีอีกหลายๆโรคที่ยังไม่ได้ข้อสรุปครับ

เพื่อนๆสามารถติดตามเรื่องราวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

สามารถติดตามข่าวสารการเปิดตัวรถยนต์ และนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงสาระดีๆเกี่ยวกับการดูแลและขับขี่รถอย่างปลอดภัย การจัดแสดงรถยนต์อื่นๆ ได้ที่  Thaicarlover.com ครับ