ยกเลิกการแจ้งเตือน

คุณต้องการยกเลิกการแจ้งเตือนข่าวสารเมื่อมีการอัพเดตใช่หรือไม่?

Advertise with Us

ติดต่อเพื่อลงโฆษณากับเราที่นี่!

รถยนต์ ข่าวรถยนต์ รถใหม่ ราคารถยนต์ พริตตี้ รถคลาสสิค รถแต่ง
background

คุ้มหรือไม่…ติดแก๊สรถยนต์ (ตอน 3)

21 เม.ย. 2554 N/A views

หลังจากที่ Thaicarlover.com ได้แนะนำผู้อ่านถึงเรื่อง คุ้มหรือไม่…ติดแก๊สรถยนต์ ไปใน 2 ตอนที่แล้ว วันนี้เราจะมาแนะนำกันต่อกับหัวข้อเรื่อง คุ้มหรือไม่…ติดแก๊สรถยนต์ (ตอน 3) ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายแล้ว

ใน 2 ตอนที่แล้ว ทาง Thaicarlover.com ได้พูดถึงก๊าซ LPG กันไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงระบบก๊าซ CNG กันบ้าง

ก๊าซซีเอ็นจี (CNG) นั้น โดยธรรมชาติแล้วจะมีเนื้อก๊าซ หรือความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ วิธีที่จะเก็บเนื้อก๊าซให้ได้ปริมาณมากเพียงพอสำหรับการใช้งาน จึงต้องอาศัยการอัดก็าซเข้าไปเก็บไว้ในถังด้วยแรงดันสูง หรือไม่ก็ต้องใช้วิธีลดอุณหภูมิของถังให้เย็นจัด ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ติดลบอย่างน้อย 163 องศาเซลเซียส จึงจะได้เนื้อก๊าซเหลว ซึ่งก็คงจะต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูงถ้าใช้วิธีที่สอง ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดที่นิยมใช้ จึงเป็นแบบอัดเก็บไว้ในถังด้วยแรงดันสูง

ถัง CNG ขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร ที่นิยมติดตั้งกับรถเก๋งทั่วไป เวลาเติมก๊าซเข้าไปเต็มที่ตามปั๊ม CNG จะเห็นเกจวัดแรงดันของปั๊มอยู่ที่ประมาณ 3,200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นั่นหมายถึง แรงดันที่หัวจ่ายอัดก๊าซเข้าไปในถัง CNG ที่ติดอยู่ในรถ จนกระทั่งก๊าซเต็มถัง และจะตัดการจ่ายที่ประมาณ 200-220 บาร์ หรือ 2,900-3,200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ณ เวลาที่มีก๊าซเต็มถังด้วยแรงดันสูงสุดนี้ จะมีเนื้อก๊าซ CNG อยู่ในถังประมาณ 15 กิโลกรัม ซึ่งจะพารถวิ่งได้ 250-300 กิโลเมตร มากกว่าหรือน้อยกว่านั้น แล้วแต่สภาพการจราจร ขนาดเครื่องยนต์ พฤติกรรมการขับขี่ และคุณภาพของก๊าซที่ใช้

รถติดแก๊ส CNG

รถติดแก๊ส CNG

เมื่อก๊าซเกิดการใช้งานไปเรื่อยๆ แรงดันในถังก็จะลดน้อยลงตามปริมาณของก๊าซที่เหลืออยู่ในถัง ดังนั้นการวัดปริมาณของก๊าซในถัง จึงอาศัยการวัดแรงดันของก๊าซในถังนั่นเอง ถังเก็บ CNG จึงออกแบบได้ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่ต้องมีลูกลอยวัดระดับในถัง จะจับถังวางในลักษณะใดก็สามารถทำได้ทั้งนั้น แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือความแข็งแรง และระบบความปลอดภัยนั่นเอง

ถังแก๊ส CNG

ถังแก๊ส CNG

ถัง CNG นั้นจำเป็นต้องแข็งแรง และทนทานกับแรงดันที่มหาศาลถึง 3,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว วัสดุที่นำมาใช้ทำถังจึงเป็นเหล็กกล้าล้วนๆ ซึ่งมีความหนาเกือบ 10 มิลลิเมตร แน่นอนว่า แค่น้ำหนักถังเปล่าเพียงอย่างเดียวก็ปาเข้าไปแล้วกว่า 80 กิโลกรัม จึงมีผู้ผลิตถังบางรายหันไปใช้วัสดุชนิดพิเศษ เช่น ถังอะลูมิเนียมหุ้มด้วยไฟเบอร์ หรือไม่ก็มีการเสริมเปลือกด้วยใยลวด ทำให้น้ำหนักของถังลดลงมาได้ระดับหนึ่ง แต่ก็มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอีกหลายเท่าตัวเช่นกัน

ด้วยข้อจำกัดของปริมาณถังที่มีขนาดใหญ่ แต่จุเนื้อก๊าซได้ไม่มากนัก ซึ่งถ้าจะใส่ถังขนาดใหญ่มาก ๆ ก็จะเสียเนื้อที่ใช้สอยของรถมากเกินไป โรงงานผู้ผลิตรถยนต์บางรายอย่างเช่น เมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes Benz) หรือวอลโว่ (Volvo) จึงได้ติดตั้งถัง CNG ขนาดเล็ก แต่หลายๆใบ เพื่อเป็นการกระจายน้ำหนัก และซ่อนตัวไปตามซอกมุมต่าง ๆ เพื่อให้เหลือเนื้อที่ใช้สอยเอาไว้ใกล้เคียงของเดิม ซึ่งเป็นความคิดที่ดี และไม่เสียพื้นที่ใช้สอยจริง ๆ

การวางถังแก๊สในรถกระบะ

การวางถังแก๊สในรถกระบะ

การติดตั้งถังก๊าซมาจากโรงงานถือเป็นความได้เปรียบในหลาย ๆ ประการ อาทิเช่น ตำแหน่งในการวางถังก๊าซที่ทางเบนซ์ได้ออกแบบให้ถังก๊าซสามารถเลื่อนหลุดออกนอกตัวรถได้ทางใต้ท้องรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ วาล์วนิรภัยที่หัวถังจะตัดการจ่ายก๊าซในกรณีที่เครื่องยนต์ดับ และวาล์วแบบหลอมละลาย ที่จะระบายก๊าซออกไปเมื่อเกิดไฟไหม้ เป็นต้น

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของเรื่องถังก๊าซที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ส่วนจะเลือกติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซแบบไหน ก็แล้วแต่ความชอบ ความสะดวก และงบประมาณในกระเป๋าของแต่ละคน ซึ่งปัจจุบันการติดก๊าซแบบสำเร็จรูปมาจากโรงงานก็มีให้เลือกซื้อในราคาที่ได้ส่วนลดภาษีพิเศษ อย่างเช่น เบนซ์ 200 NGT ซึ่งมีราคาถูกกว่า E200 ที่ประกอบในบ้านเราเป็นหลักแสนบาท แถมยังใช้เชื้อเพลิงที่ราคาถูกกว่าอีกต่างหาก

พบกันใหม่กับเทคนิคดีๆ กับการดูแลรักษารถยนต์ สำหรับคนรักรถ จาก Thaicarlover.com ได้ใหม่สวัสดีครับ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

คุ้มหรือไม่…ติดแก๊สรถยนต์ (ตอน 1)
คุ้มหรือไม่…ติดแก๊สรถยนต์ (ตอน 2)